เปิดภาพสุดอลังการ!! 9 สาวบุญหนัก ที่ได้สวมชุด "มหาลดาปสาธน์" ในพิธีทอดกฐินวัดพระธรรมกาย

เปิดภาพสุดอลังการ!! 9 สาวบุญหนัก ที่ได้สวมชุด "มหาลดาปสาธน์" ในพิธีทอดกฐินวัดพระธรรมกาย

  ป็นที่ทราบกันดีว่า วัดพระธรรมกายนั้น มักจะมีพิธีกรรมต่างๆทางศาสนามากมาย ซึ่งแต่ละพิธี มีความยิ่งใหญ่อลังการมาก โดยเฉพาะพิธีทอดกฐินของวัด ที่จะมีความยิ่งใหญ่มาก ศิษยานุศิษย์ของวัดจะต้องแต่งกายชุดสีขาวเข้าร่วมพิธี แต่จะมีสตรีที่สวมใส่ "ชุดมหาลดาปสาธน์" ที่จะคัดเลือกสาวที่มีคุณสมบัติพร้อมมาสวมใส่และเชิญผ้าไตรจีวร

       สำหรับความหมายของชุด ก็มีที่มาที่ไป ดังนี้
       ผู้ที่ทำบุญถวายผ้าไตรจีวร เช่น ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า เมื่ออานิสงส์ส่งเต็มที่
ฝ่ายชายย่อมได้บวชกับพระพุทธเจ้า ที่เรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา มีบาตรและจีวรที่สำเร็จด้วยฤทธิ์บังเกิดขึ้น
ฝ่ายหญิงย่อมได้เครื่องประดับมหาลดาปสาธน์ดังตัวอย่างนางวิสาขามหาอุบาสิกาในครั้งพุทธกาล
       เครื่องประดับมหาลดาปสาธน์ เป็นเครื่องประดับรูปนกยูง ที่มีนกยูงสถิตอยู่บนศีรษะ เหมือนยืนรำแพนและมีขนปีกทิ้งลงมาคลุมไปจนถึงหลังเท้า ประกอบด้วยเพชร 4 ทะนาน แก้วมุกดา 11 ทะนาน แก้วประพาฬ 20 ทะนาน แก้วมณี 33 ทะนาน ใช้เงินแทนด้าย ลูกดุมทำด้วยทอง มีมูลค่าถึง 90 ล้านกหาปณะ คิดเป็นมูลค่าเงินปัจจุบันหลายพันล้านบาท
       ผู้ที่จะใช้เครื่องประดับมหาลดาปสาธน์ซึ่งมีน้ำหนักมากนี้ได้ นอกจากมีทรัพย์มากแล้ว ยังต้องมีบุญด้วย เหมือนนางวิสาขาที่มีกำลังเท่ากับช้าง 5 เชือก

นางวิสาขามหาอุบาสิกา-1

       นางวิสาขามหาอุบาสิกา
       คราวหนึ่ง นางวิสาขาจะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าจึงได้ถอดเครื่องประดับมหาลดาปสาธน์ฝากให้หญิงรับใช้ดูแล เมื่อกลับจากวัดหญิงรับใช้ลืมเครื่องประดับไว้ที่วัด จึงย้อนกลับไปเอา โดยนางวิสาขาได้สั่งว่า หากยังไม่มีพระภิกษุรูปใดแตะต้องถูกก็ให้นำกลับมา แต่หากมีพระภิกษุถูกต้องเครื่องประดับนี้แล้วก็ขอถวายไว้ในพระพุทธศาสนา ต่อมานางวิสาขาได้ทราบว่า พระอานนท์พุทธอุปัฏฐากได้ช่วยนำเครื่องประดับนี้ไปเก็บไว้ให้ นางวิสาขาจึงได้ตัดสินใจถวายเครื่องประดับนี้แก่สงฆ์ แต่เพื่อไม่ให้เป็นภาระของสงฆ์ในการดูแล นางวิสาขาจึงขอไถ่คืนด้วยทรัพย์ 90 ล้านกหาปณะ และนำทรัพย์นี้ไปสร้างวัดบุพพารามถวายสงฆ์


น่าอัศจรรย์ในความเคารพบูชาพระรัตนตรัยของนางวิสาขายิ่งนัก

นางวิสาขานี้ก็คือมหาอุบาสิกาผู้เป็นเลิศในการอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาฝ่ายหญิง เป็นผู้กราบทูลขอพระบรมพุทธานุญาตเพื่อถวายผ้ากฐินแก่พระภิกษุสงฆ์ที่จำพรรษาครบถ้วนไตรมาสแล้ว ทำให้เกิดเป็นประเพณีทอดกฐินหลังออกพรรษาสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

กฐิมวัดธรรมกาย-1

       วัดพระธรรมกายได้สร้างเครื่องประดับมหาลดาปสาธน์จำลอง เพื่อสาธิตให้ประชาชนได้เห็นอานิสงส์การถวายผ้าไตรจีวรในวันทอดกฐิน เป็นพุทธศิลป์ที่งดงาม
       ทางวัดพระธรรมกายจะกำหนดให้ญาติโยมที่มาวัดใส่ชุดสีขาวเหมือนๆกัน เพื่อความเรียบง่ายไม่ประดับประดาหรือแต่งมาอวดกัน เสมอภาคเหมือนกันทุกฐานะชนชั้นซึ่งทำมาตั้งแต่สร้างวัด ส่วนเครื่องประดับมหาลดาปสาธน์ไม่ใช่ชุดที่จะใส่มาวัด แต่สาธิตให้ญาติโยมได้เห็นเพื่อเป็นกำลังใจในการทำความดีและเมื่ออ่านเจอเรื่องราวของเครื่องประดับนี้ในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบทจะได้นึกภาพออกโดยง่าย
       หากองค์กรหรือผู้ที่มีความรู้ทางศิลปะและพระพุทธศาสนาได้ช่วยกันจำลองเรื่องราวในพระไตรปิฎก ออกมาให้เห็นเป็นภาพในรูปแบบต่างๆก็จะช่วยส่งเสริมการศึกษาเรียนรู้พระพุทธศาสนาได้มากขึ้น / เพจ พุทธสามัคคี
       ภาพผู้สวมชุดมหาลดาปสาธน์ในพิธีทอดกฐิน ณ วัดพระธรรมกาย

ชนันภรณ์ รสจันทร์-1

ผู้มีบุญสวมชุดมหาลดาปสาธน์ ประจำปี พ.ศ. 2548 - 2549
กัลฯ ชนันภรณ์ รสจันทร์
ศศินา วิมุตตานนท์-1

ผู้มีบุญสวมชุดมหาลดาปสาธน์ ประจำปี พ.ศ.2550
กัลฯ ศศินา วิมุตตานนท์
วราลักษณ์ วาณิชย์กุล-1

ผู้มีบุญสวมชุดมหาลดาปสาธน์ ประจำปี พ.ศ. 2551
กัลฯ วราลักษณ์ วาณิชย์กุล
พิมพวรรณ บรรจงศิริ-1

ผู้มีบุญสวมชุดมหาลดาปสาธน์ ประจำปี พ.ศ. 2552
กัลฯ พิมพวรรณ บรรจงศิริ
ปูชิตา สุขีวัฒนา-1

ผู้มีบุญสวมชุดมหาลดาปสาธน์ ประจำปี พ.ศ. 2553
กัลฯ ปูชิตา สุขีวัฒนา
นาตาลี เจอร์ดี้-1

ผู้มีบุญสวมชุดมหาลดาปสาธน์ ประจำปี พ.ศ. 2554
กัลฯ นาตาลี เจอร์ดี้


พญ.กีรติกานต์ ลำดับวงศ์-1

ผู้มีบุญสวมชุดมหาลดาปสาธน์ ประจำปี พ.ศ. 2555


กัลฯ พญ.กีรติกานต์ ลำดับวงศ์
กัลยา ปัญญาสกุลวงศ์-1

ผู้มีบุญสวมชุดมหาลดาปสาธน์ ประจำปี พ.ศ. 2556


กัลฯ กัลยา ปัญญาสกุลวงศ์
ลลิตภัทร เจนจบ-1

ผู้มีบุญสวมชุดมหาลดาปสาธน์ ประจำปี พ.ศ. 2557


กัลฯ ลลิตภัทร เจนจบ

       เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ทำให้ประชาชนหลายคนอึ้งและสงสัย แต่ตอนนี้ก็ได้ทราบกันแล้วค่ะว่า มีที่มาที่ไปอย่างไร

เรียบเรียงโดย : Kaijeaw.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก dmc.tv